Dhamma for Life

"เราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนะ เราต้องศึกษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศึกษาอย่างเดียวไม่พอนะ ต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ด้วยจนเห็นผล พอเห็นผลแล้ว เราก็มีหน้าที่บอกต่อ เนี่ยหน้าที่ของชาวพุทธนะ ตัวเองต้องศึกษา ต้องฟังก่อน ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร เรียกว่าเรียนปริยัตินั้นเอง แล้วก็ลงมือปฏิบัติว่าได้ผลแล้วก็ต้องบอกต่อ ศาสนาถึงจะดำรงอยู่ได้ แต่ละคนมีภารกิจ อย่านึกว่าแค่ว่าเราจะมาฟังธรรมะเล่นๆ แต่ละคนมีความสำคัญทั้งนั้น"


"หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลาจะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน"

...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช...สวนสันติธรรม...

Oct 13, 2010

Speculative opinion or wrong view ทิฐิ หรือทรรศนะ คือความเห็นต่าง ๆ

พูดถึงเรื่องทิฐิ หรือทรรศนะ คามเห็นต่าง ๆ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพุทธศาสนาในบ้านเราขณะนี้  ที่มีความขัดแย้ง และทรรศนะแตกต่างกัน  อันที่จริงพระพุทธเจ้าท่านได้ประทานหลักในการตกลงใจว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และอะไรไม่ใช่ ทั้งทางตรงคือพระธรรมวินัย ทั้งอุปมาคำสอน หรือเรื่องราวที่แทรกอยู่ในพระสูตรต่าง ๆ ดังตัวอย่างหนึ่งใน พรหมชาลสูตร ว่าด้วยเรื่อง ทิฐิ และความเห็น นำมาเรียบเรียงด้วยภาษาร่วมสมัย ให้อ่าน และเข้าใจง่าย โดยปราชญ์ผู้รู้ ท่านอาจารย์วศิน อิทสระ...พระไตปิฎก ฉบับที่ทำให้ง่ายแล้


ครั้งหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จพร้อมภิกษุจำนวนมากจากราชคฤห์ไปนาลันทา  นักบวชลัทธิหนึ่งชื่อ สุปปิยะ และลูกศิษย์ชื่อ พรหมทัต กำลังเดิินทางเช่นกัน  ระหว่างนั้น สุปปิยะ ผู้เป็นอาจารย์ ก็ได้กล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า ส่วนพรหมทัต ลูกศิษย์กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า ทั้งสองต่างขัดแย้งกันมาตลอดทาง  
พระพุทธเจ้าได้ประทับแรม ณ ตำหนักในหลวงที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา (สวนมะม่วงหนุ่ม)  ส่วนนักบวชทั้งสองก็พักที่นั่นเช่นเดียวกัน  ต่างก็ยังโต้เถียงกันเหมือนเดิม จนกระทั่งรุ่งสาง


{พูดถีงเรื่องคนอินเดียทะเลาะกัน มีน้องนักเรียนไทยที่นั่นเล่าว่า คนอินเดียเขาโต้เถียงกันแบบเอาเป็นเอาตายเหมือนกันนะ แถมทะเลาะกันแบบมาราธอน คือทะเลาะกันข้ามวันข้ามคืนทีเดียว  (สงสัยเหมือนกันว่า คอไม่แห้งหรือไง มีตีระฆังพักยกไหม ก็ลืมถามไป)  แต่ถึงคนอินเดียจะทะเลาะกันหน้าดำคร่ำเคร่งก็ไม่ถึงกับลงไม้ลงมือกัน อืม...เหมือนนักบวช กับศิษย์คู่นี้เลย  เถียงมาราธอนจริงๆ  นิสัยนี้ยังส่งทอดมาถึงปัจจุบัน นี่ก็กว่า ๒๕๐๐ ปีเข้าไปแล้ว  อินเดียช่างเป็นนักอนุรักษ์นิยม โดยแท้}  
ฝ่ายภิกษุได้นั่งถกกันถึงเรื่องที่นักบวชทั้งสอง กล่าวสรรเสริญ และติเตียน พระพุทธเจ้าอย่างไร และได้สนทนากันถึงคุณอันน่าอัศจรรย์ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ทรงรู้-เห็นความที่สัตว์ทั้งหลายมีนิสัยต่่างกัน เช่นนักบวชทั้งสองนี้  





พระพุทธเจ้าทรงทราบความที่ภิกษุกำลังสนทนากัน ทรงเสด็จมา และตรัสแก่ภิกษุสงฆ์เหล่านั้นด้วยพระเมตตาว่า

ถ้าใครกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็อย่าโกรธเคือง อาฆาตขุ่นแค้น เพราะถ้าโกรธเคืองเสียก่อนแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวถูกหรือผิด อนึ่งถ้าใครกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็อย่าเพิ่งยินดี ลิงโลดใจ เพราะถ้ายินดีเสียก่อนแล้ว รับเอาแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวถูกหรือผิด การที่ด่วนโกรธก็ตาม ด่วนพอใจยินดีก็ตาม จะเป็นอันตรายแก่เธอทั้งหลาย ทางที่ถูกต้องก็คือ ควรพิจารณาว่า ที่เขากล่าวนั้นเป็นจริงหรือไม่ แล้วชี้แจงให้เขาทราบ ให้เข้าใจตามที่เป็นจริง
พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ปุถุชนสรรเสริญพระองค์ก็เพียงศีลเท่านั้น  ซึ่งเป็นสิ่งเล็กน้อย  อันนี้หมายความว่า  พระองค์ทรงมีคุณธรรมอื่น ๆ ซึ่งสูงกว่าศีลเป็นอันมาก เช่น สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง)  เป็นต้น  แต่ปุถุชนหารู้ถึงคุณธรรมเหล่านั้นไม่

พระพุทธองค์ทรงแสดงศีล ๓ ชั้น คือ จุลศีล  มัชฌิมศีล  และมหาศีล
·         จุลศีล  คือศีลอย่างหยาบ เช่น ศีล ๕  ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
·         มัชฌศีล คือ ศีลอย่างกลาง เช่น เว้นจากการเสพสมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เว้นจากเดียรัจฉานกถา คือ คำเพ้อเจ้อ ไร้สาระ เป็นต้น
·         มหาศีล คือศีลอย่างละเอียด เช่นเว้นจากการเลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวงโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การทำนายทายทัก นิมิตต่าง ๆ เป็นต้น

No comments:

Post a Comment