Dhamma for Life

"เราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนะ เราต้องศึกษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศึกษาอย่างเดียวไม่พอนะ ต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ด้วยจนเห็นผล พอเห็นผลแล้ว เราก็มีหน้าที่บอกต่อ เนี่ยหน้าที่ของชาวพุทธนะ ตัวเองต้องศึกษา ต้องฟังก่อน ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร เรียกว่าเรียนปริยัตินั้นเอง แล้วก็ลงมือปฏิบัติว่าได้ผลแล้วก็ต้องบอกต่อ ศาสนาถึงจะดำรงอยู่ได้ แต่ละคนมีภารกิจ อย่านึกว่าแค่ว่าเราจะมาฟังธรรมะเล่นๆ แต่ละคนมีความสำคัญทั้งนั้น"


"หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลาจะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน"

...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช...สวนสันติธรรม...

Jun 10, 2011

The Right Path & The Right Form – ทางตรงไม่มีแยก กับ รูปแบบเพื่อถึงธรรม


เคยสังเกตุไหมว่า หลายต่อหลายครั้งที่เวลามีคำถามค้างใจแต่ไม่รู้จะถามใครที่เป็นผู้รู้ (จริงๆ) ที่จะยืนยันคำตอบที่มีอยู่ในใจของเราว่า ถูก ตรงตามสิ่งที่มันควรจะเป็น แล้วจากนั้นไม่กี่วันเราก็ได้คำตอบนั้น จากผู้รู้ที่เรารู้สึกว่า คำตอบ โดนใจ ใช่เลย

เช่นเมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนมีคำถามค้างใจอยู่หลายวัน เกี่ยวกับ นักบวช- ภิกษุณี-ฆราวาส กับการปฎิบัติธรรม (เพื่อถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์)

ในอาทิตย์เดียวกัน ผู้เขียนได้เข้าไปอ่านวิสัจฉนา ของคุณดังตฤณ ที่มีผู้ปุจฉาเข้ามา ซึ่งตรงกับสิ่งที่ยังค้างใจผู้เขียนอยู่  ผู้เขียนรู้สึกประหลาดและฉงนใจนัก ทุกครั้งที่ผู้เขียนมีคำถาม ข้องใจ หรือไม่แน่ใจในสิ่งที่ตนเองรู้  คำตอบของคุณดังตฤณ ที่ตอบคำถามในคอมลัมน์ "ดังตฤณ วิสัจฉนา ฉบับเปิดกรุ" ไม่เพียงแต่จะยืนยันความความเข้าใจของผู้เขียน แต่ยังสนับสนุน และเป็นกำลังใจให้หมั่นเจริญสติ อย่างต่อเนื่องแม้ต้องต่อสู้กับกิเลสอันหนาทึบที่นอนเนื่องในใจ ทุกวินาทีก็ตาม อีกทั้งยังทำให้ผู้เขียนยิ่งมั่นใจว่า "การมีโยนิโสมนัสการ พิจารณาธรรมอย่างแยบคาย มีความสำคัญต่อการเจริญภาวนายิ่ง"

แม้หลายคนจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่ไม่เกื้อกูลต่อการภาวนา (สังคมวินาศ สถานที่ไม่สัปปายะ) ห่างไกลจากกัลยาณมิตร  ก็ใช่ว่า  อยู่ไกลธรรม

๔ มิย.๔๕

ขอบคุณบทความดีๆ ของคุณดังตฤณ


ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๑๒๑

ถาม - การปฏิบัติธรรมอย่างคนธรรมดา จะถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายแบบ ‘ไม่ต้องเกิดอีกแล้ว’ ช้ากว่าคนที่ถือบวชหรือไม่คะ?


dungtrin_gru2aถ้าถือบวชไปนั่งๆ นอนๆ ไม่เพียรภาวนา ไม่รักษาจิตให้สะอาดหรือแม้เพียรภาวนาและรักษาจิตให้สะอาดดีแล้ว แต่เป็นดำเนินจิตไม่ถูกต้องตามหลักสติปัฏฐานสภาพจิตไม่มีคุณภาพครบถ้วนด้วยองค์มรรคทั้งแปดอย่างนี้ก็ไม่มีหวังได้บรรลุธรรมแม้แต่ขั้นต้นหรอกครับ  เผลอๆ ถ้าบวชแล้วขี้เกียจ ไม่ยอมทำตามกติกาต่างๆ ที่ตกลงไว้ตอนบวชนอกจากจะไม่ได้เจอสวรรค์นิพพานแล้วยังมีสิทธิ์ไปอบายได้สูงกว่าฆราวาสเสียด้วย


ส่วนฆราวาสนั้นแม้นั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ
แต่กลับบ้านแล้วปิดประตูห้องเพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนา
กับทั้งมีกำลังใจรักษาจิตให้สะอาด ประกอบบุญกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป
และที่สำคัญสูงสุดคือดำเนินจิตถูกต้องตามหลักสติปัฏฐาน
สภาพจิตทรงคุณภาพครบถ้วนด้วยองค์มรรคทั้งแปด
อย่างนี้ถึงแม้ตลอดชาติไม่ได้บวช ก็มีสิทธิ์บรรลุธรรมชั้นต้นได้
(ซึ่งแค่นั้นก็เที่ยงที่จะหลุดพ้นเด็ดขาดในอนาคตกาลแล้ว)


ส่วนถ้าจะเอาแบบไม่ต้องเกิดอีก คือบรรลุธรรมขั้นสูงสุด
เป็นพระอรหันต์ขีณาสพอันนี้คงไม่ใช่วิสัยที่จะทำกันได้ในออฟฟิศแบบฆราวาสครับ
เพราะขั้นสุดท้ายนั้นต้องการสมาธิขั้นอุกฤษฏ์ 

จะปะปนแปดเปื้อนกับมลทินใดๆทางโลกคงไม่ไหว


สรุปคือการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมนั้น เครื่องแบบไม่ใช่ตัวกำหนดความช้าเร็วแต่เป็นเรื่องของความเข้าใจในเส้นทางที่ถูกต้องตลอดสาย ไม่หลงเถลไถลไปไหนเสียก่อนนั่นเองครับ
------------------------------------------

source: http://www.dharmamag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=468%3A2011-05-24-12-10-14&catid=47%3Aaskdungtrin&Itemid=63

No comments:

Post a Comment