Dhamma for Life

"เราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนะ เราต้องศึกษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศึกษาอย่างเดียวไม่พอนะ ต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ด้วยจนเห็นผล พอเห็นผลแล้ว เราก็มีหน้าที่บอกต่อ เนี่ยหน้าที่ของชาวพุทธนะ ตัวเองต้องศึกษา ต้องฟังก่อน ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร เรียกว่าเรียนปริยัตินั้นเอง แล้วก็ลงมือปฏิบัติว่าได้ผลแล้วก็ต้องบอกต่อ ศาสนาถึงจะดำรงอยู่ได้ แต่ละคนมีภารกิจ อย่านึกว่าแค่ว่าเราจะมาฟังธรรมะเล่นๆ แต่ละคนมีความสำคัญทั้งนั้น"


"หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลาจะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน"

...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช...สวนสันติธรรม...

Feb 17, 2011

Virtues Of Man - Five Precepts ศีลห้าทำให้ร่ำรวย - ตอน ๑


เชื่อหรือไม่ ว่า ศีลห้า ทำให้เราได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ นอกจากนั้นยังมีอานิสงฆ์ ทำให้เราร่่ำรวย ทรัพย์สมบัติอีกด้วย ... ลองอ่านดูก่อน ก่อนที่จะเชื่อ


หลายคน ชอบตัดพ้อต่อว่าโชคชะตา (รวมทั้งผู้เขียนเอง) ว่า ทำไมเกิดมาต้อง ทำงานหนักอย่างกับทาส ตื่นแต่เช้ามืด เพื่อไปผจญรถติดบนท้องถนน กว่าจะถึงที่ทำงานก็เล่นเอาแทบหมดแรง ได้เงินเดือนมาเท่าไหร่ ก็ไม่เคยเหลือ แถมบางเดือนติดลบ คิดยังไม่พอดันเกิดโทสะพาลเพ่งโทษคนอื่น แล้วไปลงที่เจ้านายและบริษัทว่า ฉันทำงานแทบตาย มาเช้ากลับดึก นายยังขึ้นเงินเดือนให้กะจี็ดเดียวอีก พาลทำให้ตัวเองเครียดแบบไร้เหตุผล เจ็บใจฟรีโดยไม่มีใครเอาเข็มมาทิ่มแทง แต่ไม่เคยคิดโทษตัวเองเลย  อย่างนี้เรียกว่า ชอบสะสมทุกข์ เป็นงานอดิเรก (เพราะนึกว่าของฟรี) แถมพ่วงความเครียดไว้หลอกหลอน ทั้งยามตื่นแม้หลับก็ฝันร้าย

หากเราหยุดคิดสักนิด หมุนหน้าไปดูให้รอบ 360 องศา (อย่าพาลซื่อหมุนแต่หน้าหล่ะ คอหักไม่รู้ด้วยนะ) น้อมจิตพิจารณา (อย่างที่ภาษานักปฎิบัตินิยมเรียกกันว่า โยนิโสมนัสสิการ) ว่าไอ้ที่เงินเดือนไม่พอใช้เป็นเพราะตัวเราเองใช้จ่ายเกินตัวหรือเปล่า (ซึ่งผู้เขียนก็อยู่ในประเภทนั้น) บางเรื่องไม่ควรจะเสียเงินทอง ก็ให้ต้องเสีย ก็ต้องจ่ายแบบจำใจ ตั้งใจเก็บก็ยังมีคนคอยมาเบียดเบียน อยากทำบุญกิเลสก็บอกรอก่อน ไว้เงินเดือนออกค่อยทำ หรือไม่ก็มีคนขัด ทำให้เราเขว บุญเลยไม่เคยมีให้ได้กินดอกออกผล เราเคยลองค่อยๆ คิดทบทวนย้อนดูว่าในอดีต ไม่ต้องอดีตไปชาติที่แล้ว เอาชาตินี้แหล่ะใกล้ตัวที่สุด และยังพอจะทำให้นึกออก ว่าเราเคยเป็นคนผิดปกติหรือเปล่า ที่พูดอย่างนั้ไม่ใช่หมายถึงจิตไม่สมประกอบ หากคือ เราประพฤติตนผิดศีลข้อใดไปบ้าง
อ้าว แล้วมันเกี่ยวอะไรกับศีล ถึงบอกว่า เป็นคนไม่ปกติ  เอาหล่ะ เรามาลองทบทวนความรู้กันหน่อยดีไหมว่าที่เราเคยเรียนกันมาและท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองสมัยเด็กๆ เราเข้าใจเรื่องศีล และนำไปปฎิบัติถูกหรือยัง แล้วที่ว่าศีลห้าทำให้เรามีทรัพย์ ร่ำรวย นั่นหน่ะจริงหรือ

ศีล คืออะไร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้อรรถาธิบายไว้ว่า

ศีล แปลว่า ปกติ หมายถึง ปกติกาย ปกติวาจา
ปกติใจ เพราะมีใจคิดงดเว้นจากโทษทางกาย ทางวาจาที่
ควรงดเว้น ดังเช่นที่ระบุไว้ในศีล ๕ ศีลจึงสำเร็จด้วยวิรัติเจตนา
แปลว่า เจตนาคิดงดเว้น คำว่า วิรัติ กับคำว่า เวรมณี แปล
ว่า งด เว้นเหมือนกัน วิรัติโดยทั่วไปมี ๓ คือ

๑. สัมปัตตวิรัติ ความเว้นจากวัตถุที่จะพึงล่วงได้
อันมาถึงเฉพาะหน้า คือไม่ได้รับถือศีลมาก่อน แต่เมื่อได้พบ
สัตว์มีชีวิตที่จะฆ่าได้ ไปพบทรัพย์ที่จะลักได้ แต่ก็เว้นได้ไม่ฆ่า
ไม่ลัก เป็นต้น ความคิดงดเว้นได้อย่างนี้ก็เป็นศีลเหมือนกัน
แต่ถ้างดเว้นเพราะไม่ได้โอกาส ไม่จัดว่าเป็นศีล

๒. สมาทานวิรัติ ความงดเว้นด้วยอำนาจการถือเป็น
กิจวัตร การรับถือศีลที่เรียกว่า สมาทานศีล เพราะคำว่าสมาทาน
แปลว่าการรับถือ จะสมาทานด้วยตนเองคือตั้งจิตว่า
จะงดเว้น
จากโทษข้อนั้น ๆ เองก็ได้ จะสมาทานด้วยรับจากผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้มี
ศีลเช่นจากพระภิกษุสามเณรก็ได้ ถึงแม้จะรับจากผู้อื่นก็มิใช่จะรับ
แต่ปาก ต้องตั้งใจรับจึงจะได้ศีล ก่อนแต่รับศีลจากผู้มีศีล
มีธรรมเนียมของสรณะและศีลดังกล่าวแล้ว


๓. สมุจเฉทวิรัติ ความเว้นด้วยตัดขาดมีอันไม่ทำอย่างนั้น
เป็นปกติตามภูมิของคนผู้ปฏิบัติ ท่านกล่าวว่าเป็นวิรัติของ
พระอริยเจ้า แต่เมื่อจะอธิบายใหฟังทั่ว ๆ ไป ก็อาจอธิบายได้ว่า
คือเว้นจนเป็นปกติของตนจริง ๆ


สรุปเบญจศีล คือ
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตคิดลัก
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เบญจธรรม แปลว่า ธรรม ๕ ประการ คำว่า ธรรม
แปลว่าทรงไว้หรือดำรงรักษาไว้ ในที่นี้หมายถึงส่วนที่ดี จึงมี
ความหมายว่า ทรงคือรักษาไว้หรือดำรงรักษาไว้ ๕ ประการ


ในที่นี้หมายถึงธรรมที่คู่กันกับศีล ๕ เรียกว่า กัลยาณธรรม
แปลว่า ธรรมงาม เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้งดงาม สร้าง
อัธยาศัยนิสัยที่ดี ศีลเป็นเหตุให้งดเว้นไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ
ถ้ามีเพียงศีลก็มีเพียงงดเว้นได้จากโทษ แต่ก็ยังมิได้ทำคุณความดี
ต่อเมื่อมีธรรมอยู่ด้วยจึงจะเป็นเหตุให้ทำคุณความดี 


ยกตัวอย่าง เช่น 
รักษาศีล ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เดินไปพบคนนอนหลับอยู่ใน
ทางรถไฟมีรถไฟแล่นมาแต่ไกล ควรจะปลุกบอกเขาได้แต่ไม่
ปลุกบอก อย่างนี้ศีลไม่ขาดเพราะมิได้ไปฆ่าเขา แต่ขาดธรรม
คือเมตตา ต่อเมื่อปลุกให้เขารีบหลีกออกเสียจากรางด้วยเมตตา
จิต จึงจะชื่อว่ามีธรรม ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสทั้งศีลทั้งธรรมคู่
กันไว้ในที่หลายแห่งว่า “มีศีลมีกัลยาณธรรม” ดังนี้


๑. เมตตากรุณา คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๑
๒. สัมมาอาชีวะ คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๒
๓. ความสำรวมในกาม คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๓
๔. ความมีสัจจะ คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๔๕. ความมีสติรอบคอบ คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๕


เบญจธรรมนี้ไม่ต้องขออย่างขอศีล ให้ปฏิบัติอบรม
บ่มเพาะปลูกให้มีขึ้นประจำจิตใจด้วยตนเอง ได้มีพุทธภาษิต
ตรัสไว้ที่แปลความว่า “พึงประพฤติสุจริตธรรม ไม่ประพฤติ
ทุจริตธรรม ผู้ประพฤติธรรมโดยปกติย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งโลกนี้
ทั้งในโลกอื่น”


ศีล เป็นความดีที่สูงกว่าทานขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง มีความ
หมายกว้าง ๆ ว่า ความประพฤติงดเว้นจากการเบียดเบียนกัน
และกันให้เดือดร้อน เรียกว่าอภัยทาน แปลว่าให้อภัย คือให้
ความไม่มีเวรมีภัยแก่ใคร ๆ เรียกว่าเป็นบุญ เพราะเป็นเครื่อง
ชำระล้างโทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย เพราะศีลคือความ
เว้นจากความประทุษร้ายเขา เมื่อรักษาศีลไว้ได้ ก็เป็นอันชำระใจ
ในข้อนี้

ที่มา: "สร้างบุญด้วยการรักษาศีล" จากหนังสือ "วิธีสร้างบุญบารมี" หน้า 22 - 25
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปรินายก
http://www.mahayana.in.th/tsavok/tsavok.html 


ข่าวประชาสัมพันธ์จากสำนักงานพระพุทธศาสนา: พระนิพนธ์ "วิธีสร้างบุญบารมี" ที่ถูกต้อง
http://pbi.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=237:2009-12-23-08-31-24&catid=41:2008-10-29-14-40-50&Itemid=75

No comments:

Post a Comment