Dhamma for Life

"เราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนะ เราต้องศึกษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศึกษาอย่างเดียวไม่พอนะ ต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ด้วยจนเห็นผล พอเห็นผลแล้ว เราก็มีหน้าที่บอกต่อ เนี่ยหน้าที่ของชาวพุทธนะ ตัวเองต้องศึกษา ต้องฟังก่อน ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร เรียกว่าเรียนปริยัตินั้นเอง แล้วก็ลงมือปฏิบัติว่าได้ผลแล้วก็ต้องบอกต่อ ศาสนาถึงจะดำรงอยู่ได้ แต่ละคนมีภารกิจ อย่านึกว่าแค่ว่าเราจะมาฟังธรรมะเล่นๆ แต่ละคนมีความสำคัญทั้งนั้น"


"หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลาจะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน"

...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช...สวนสันติธรรม...

Jan 14, 2011

Opernhaus Zürich...ตามฝรั่งไปดูอุปรากร Nabucco Verdi

สาม-สี่ปีก่อน อาชี้ให้ดูตึกโบราณงามตั้งเด่นสง่าข้างทะเลสาบซูริก บอกว่านี่คือ Opernhaus Zürich แล้วอาก็ถามว่าสนใจอยากดูโอเปร่าไหม ฉันบอกก็อยากดูนะถ้ามีโอกาส เคยแต่ดูในวีดีโอ เคยได้ยินเพลงคลาสิกบางเพลง (พูดอย่างนี้อย่าเข้าใจผิดว่า โห ไฮโซจัง จริงๆ สุดจะโลโซ (โคตร) ชื่อศิลปินก็ประเภทแบบว่า จำเขามาเล่า เช่น Bethofen Mozart)

เวลาผ่านไปเสียหลายปี ฉันนึกว่าอาลืมไปแล้ว จนกระทั่งเมื่อก่อนถึงวันแสดงภาพของอา อาส่งโปรแกรมการแสดงที่ Opernhause มาให้เลือกว่าอยากดูอุปรากรคณะไหน ให้บอกจะได้จองจั๋ว (อาทำราวกับว่าฉันรู้จักวงโอเปราพวกนี้ ของยุโรปซะเต็มประดา ฉันก็คิดเล่นๆ (ตามประสาคนชอบคิด) นี่ถ้าหากอาส่งโปรแกรมคณะลิเก หรือหมอลำมาให้ฉันคงไม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลมาศึกษาให้ปวดหัว ไม่งั้นเดี๋ยวเวลาไปดูแล้วไม่รู้เรื่อง คนจ่ายเงินเขาจะเสียใจเอา ว่าพาลิงมาดู มันไม่รู้เรื่องอะไรเลย แถมเฉิ่มสมกับเป็นหญิงไทยไร้ (ส)หมอง)


หลังจากดูโปรแกรมสามีบอกโดยไม่คิดมากว่าเขาอยากดู Nabucco, Verdi (นาบุคโค แวร์ดี) ซึ่งเป็น ผลงานของ Giuseppe Verdi (จูเซปเป แวร์ดิ) คีตกวีที่โด่งดังชาวอิตาเลียน กำหนดการของโปรแกรมที่เลือกนี้คือที่ 7 มกราคม อาทิตย์ที่ผ่านมา

ไหนๆ ก็มีโอกาส มีคนจ่ายค่าตั๋วให้ดูอุปรากรฟรี ฉันก็ต้องฝึกซ้อมปีนบันไดฟัง (เพราะคอไม่ถึง) และศีกษาเรื่องราวบ้างก่อนไปดู ขืนไปนั่งเอ๋อ เหม่อง่วง ให้ตาสีเทาหลายคู่หมั่นใส้เราในใจ “หน้าไม่ให้ คอก็ไม่ถึงยังจะโหนขึ้นมาฟัง อุปรากร ชิ” พาลจะทำให้จิตเธอเหล่านั้นเป็นอกุศลเปล่า กอนถึงวันแสดง 2-3 วัน ฉันก็เลยต้องเข้าไปหามาฟัง และอ่านเรื่องราวพอคร่าวๆ (เท่าที่สติปัญญาจะแปลและเข้าใจได้) เอาเป็นว่า พอรู้เรื่องแบบโม้ได้ 5 นาที ก็พอแล้ว เลยถือโอกาสดึงจาก Youtube มาแปะไว้ให้ดูพอเป็นกระสัย ใครคอสูงอาจจะชอบ ส่วนผู้เขียน ดูโอเปร่าไปก็ดูใจตัวเองไปด้วย เอาเข้าจริง ก็เฉยๆ ชอบชุดการแสดง หากถ่ายภาพได้คงดีกว่านี้ ส่วนใครอยากดูของจริงก็ต้องไปดูที่ Opernhause หล่ะนะ


Credit: http://www.youtube.com/watch?v=y0EAL3vXZrM
By: angieearts
หลายคนอาจจะสงสัยว่าไปดูอุปรากรก็ต้องใส่ชุดอลัง อลังการ เปล่าเลยสมัยนี้ขืนใส่กันแบบนั้นมีหวังเป็นลิเกหลงโรง ขอให้ชุดสุภาพเป็นใช้ได้ (ชุดใส่ไปงานแต่งงานบ้านเรายังหรูกว่านั้นเยอะ อย่างนี้คงพอจะนึกภาพออกว่า สุภาพขั้นไหน) ว่าที่จริงฉันยังติดกับภาพที่ว่าคนที่ไปดูโอเปร่าส่วนใหญ่คงจะเป็นวัยกลางคนและวัยแรกแย้ม (ฝาโลง) เป็นแน่ จริงๆ แล้วไม่อย่างที่คิด เพราะที่เห็นวันนั้น ก็มีวัยรุ่นมาดูเหมือนกัน แถมใส่ชุดธรรมดา ๆ และยีนส์ด้วย (บางคน) คิดว่าคงอนุโลม อลุ่มอล่วยเยอะขึ้น เพราะอากาศหนาวเป็นน้ำแข็งปานนั้น ใครที่ไม่มีรถ แล้วต้องใส่ชุดราตรี หรือชุดหรู ๆ ขึ้นรถราง คงพิลึกและแข็งตายก่อนได้ดูอุปรากรแน่ นี่ก็อีกอย่างที่ทำให้เห็นสัจจธรรม ไม่มีอะไรเที่ยง เปลี่ยนแปลงเสมอ แล้วสมัยนี้จะไปหาไฮโซที่ไหนมากมายไปดูโอเปร่าขนาดนั้น


เขาบอกว่า Opernhaus Zürich เป็นโอเปร่า เฮาส์ แห่งแรกในยุโรป มีการติดตั้งระบบแสงไฟฟ้า สร้างเมื่อปี 1891 สไตล์ นีโอ-บาร็อก (neo-baroque) ตั้งอยู่ข้างทะเลสาบซูริก
อุปรากรคณะแรกที่แสดงเป็นฐมฤหษ์ที่นี่คือ Richard Wagner’s ‘Lohengrin’ (ริชาร์ด วากเนอร์ โลเฮงริน) เขาบอกอีกว่าที่นี่เป็นหนึ่ง Avenue ที่ดีที่สุดในโลก มีการแสดงมากกว่า 270 การแสดง ต่อฤดูกาลทีเดียว


หนังสือพิมพ์สวิสตีพิมพ์เมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่า คันโตนซุริก (Kanton Zürich) ได้จ่ายให้ Opernhaus Zurich นี้ถึง 75 ล้านฟรังก์ต่อปี ด้วยเหตุฝลง่ายๆ คือ เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งมรดกทางวัฒธรรมของเขา ถามว่าเอาเงินส่วนนี้มาจากไหน ก็จากการจัดเก็บภาษีรายได้นั่นแหล่ะ
ตอนนี้กำลังสร้างที่จอดรถหน้า Opernhaus สำหรับผู้มาดู Opera โดยเฉพาะ กะว่าเก็บค่าจอดรถคงคุ้มอยู่ ขืนมีแต่จ่ายกับจ่าย สักวัน Opernhause คงอยู่ไม่ได้เหมือนกัน (ที่สวิสค่าจอดรถแพงมั่กๆ โดยเฉพาะ ในซูริก)
(นีถ้ากระทรวงวัฒนธรรมบ้านเรา สนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ อย่างสวิสฯ วัฒนธรรมหลายอย่างบ้านเราคงจะรุ่งเรืองมากกว่านี้ และคงสร้างรายได้ให้กับประเทศมากด้วย เพราะ และบางอย่างไม่สูญหาย หรือถูกกลืนดัดแปลงไปเป็นแน่)

ภายใน Opernhause zurich เขาแบ่งที่นั่งออกเป็นสี่ชั้นรวมชั้นล่างหน้าเวที ที่นั่งโค้งเป็นแถวแนวตัวยูหันหน้าเข้าหาเวที http://www.opernhaus.ch/de/karten_abos/3d_saalplan.php
ส่วนจะเห็นเวทีชัดทั้งหมดหรือไม่นั้น ก็ลดหลั่นไปตามราคาตั๋วที่มีหลากหลายตั้งแต่ 15-380 สวิสฟรังกฺ์

เขาเล่ามา เราเล่าต่อ เรื่องของ Nabucco คีตกวีจากคัมภีร์ไบเบิล

Nabucco กษัตริย์แห่ง Babylon สมัยโบราณเข้ายึดครองรุกรานอิสราเอล และจับยิวเป็นทาส Fenena ลูกสาวของ Nabucco ที่ตกหลุมรักทาสหนุ่ม Ismaele หลานของบาทหลวง Zaccaria ชาวยิว ตกเป็นตัวประกันเพื่อความปลอดภัยของยิวจาก Nabucco บิดาของเธอ


Abigaille ทาสสาวที่อ้างตัวว่าเป็นลูกสาวของ Nabucco ต่างก็หลงรัก Ismaele เช่นกัน เธอต่อรองให้ Ismaele เลิกรัก Fenena ไม่เช่นนั้นเธอจะบอกกับ Nabucco ว่า Fenena จะปล่อยชาวยิวทั้งหมดเป็นอิสระ แต่ Isamele ไม่ยอม


Abigaille แค้นหนัก เพราะ Nabuuco จะให้ Fenena ครองราชบัลลังก์ ท้ายสุดเธอวางแผนและเป่าหู Nabucco ใส่ร้าย Fennea ถึงกับให้ Nabucco ให้อำนาจลงนามฆ่าชาวยิวทั้งหมดพร้อมทั้ง Fenena ด้วย และฉกฉวยโอกาสสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย และสั่งขัง Nabucco ในขณะที่ Nabucco ขาดสติไม่สามารถควบคุมตนเองได้


Nabucco ช้ำใจเมื่อรู้ว่าถูก Abigaille หลอก และเสียใจหนักที่เข้าใจผิด Fenena ลูกสาวที่เขารักยิ่ง Nabucco สำนึกผิดหันมานับถือพระเจ้า (The God of the Hebrews) สติสัมปชัญญะ Nabuuco กลับมาเข้มแข็งเหมือนเดิม ทหารกลับมายืนเคียงข้างสนับสนุน Nabucco  ส่วน Abigaille ขอให้ Fennena ยกโทษให้เธอ ก่อนที่จะสิ้นลม Nabucco ขึ้นครองบัลลังก์อีกครั้ง และได้สร้างโบสถ์วิหารให้กับชาวยิวใหม่ ปล่อยทาสยิวทั้งหมดให้เป็นอิสระ (เข้าใจว่าท้ายสุด Fenena ก็ได้แต่งงานกับ Ismaele เพราะ Abigaille ทำนายไว้ก่อนสิ้นลม)


Giuseppe Verdi เป็นใคร


จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Fortunino Francesco Verdi อังกฤษ: Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากโอเปร่าเรื่อง La Traviata (ลา ทราวิอาตา) Aida (ไอด้า) Otello (อัศวินโอเทลโล) ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน
แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจอมจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเซโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรเวอร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของโอเปร่าเรื่อง ชายไว้เคราแห่งเมืองเซวิลยา (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคชิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโว ลาวินยา
ที่มา: http://th.wikipedia.org/
แวร์ดีเป็นคนที่มีความเสียสละมาตลอดชีวิตเมื่อภรรยาและตัวเขาเองตายไปแล้วทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ถูกนำไปใช้สร้างอาคารสงเคราะห์ให้เป็นที่พักอาศัยของนักดนตรีที่ยากจนนอกนั้นก็นำไปใช้สร้างโรงแสดงดนตรีแวร์ดี (Verdi Concert Hall) และพิพิธภัณฑ์แวร์ดี (Verdi Museum) ในเมืองมิลาน เป็นอนุสาวรีย์เตือนชาวโลกให้รำลึกถึงเขาในฐานะคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของ อิตาลีและของโลก
การมรณกรรมของเขาจึงมิใช่เป็นการสูญเสียผู้ประพันธ์โอเปร่าที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น
ผลงานที่มีชื่อเสียง และเด่น คือ Nabucco: 1842, Macbeth: Aria from Act III 1847,La traviata 1853, Aida : Triumphal Scene 1871
ที่มา: http://www.lks.ac.th/band/page12_1.htm

No comments:

Post a Comment