Dhamma for Life

"เราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนะ เราต้องศึกษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศึกษาอย่างเดียวไม่พอนะ ต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ด้วยจนเห็นผล พอเห็นผลแล้ว เราก็มีหน้าที่บอกต่อ เนี่ยหน้าที่ของชาวพุทธนะ ตัวเองต้องศึกษา ต้องฟังก่อน ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร เรียกว่าเรียนปริยัตินั้นเอง แล้วก็ลงมือปฏิบัติว่าได้ผลแล้วก็ต้องบอกต่อ ศาสนาถึงจะดำรงอยู่ได้ แต่ละคนมีภารกิจ อย่านึกว่าแค่ว่าเราจะมาฟังธรรมะเล่นๆ แต่ละคนมีความสำคัญทั้งนั้น"


"หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลาจะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน"

...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช...สวนสันติธรรม...

Mar 27, 2012

Mata Hari จารสตรี หรือเธอเป็นเพียงศิลปินระบำเปลื้องผ้า, ครั้งหนึ่งกับละครเวที เล็ก ๆ คุณภาพระดับมืออาชีพ Theater and live-music

Photo of Mata Hari, Postcard set  by Stanslaus Walery 

ครั้งแรกที่มีโอกาสได้ดูละครเวทีประกอบการร้องซึ่งจัดแสดงที่โรงละครเล็ก ๆ “Mier Theater“ในซูริก
โรงละครที่ว่าเล็กนั้น เล็กจริง ๆ เล็กกว่าโรงหนังบ้านเรา ซึ่งจุคนได้เพียง 145 คน ที่นั่งชมแบ่งเป็น 9 แถว ลดหลั่นขึ้นไปเป็นขั้นบันได (ห้างร้านนั่งถูกทำขึ้นเหมือนเพียงชั่วคราว) เก้าอี้สำหรับนั่งดูละครก็เป็นเก้าอี้พื้นพลาสติกธรรมดา ๆ (เหมือนเก้าอี้ไว้นั่งในหอประชุมผู้ปกครอง หรือเก้าอี้ใช้นั่งทานข้าวกลางสนาม) เวทีการแสดง ใช้พื้นห้องธรรมดา ขนาดประมาณ 3.5x 5 เมตร ฉากสำหรับประกอบเวทีการแสดงไม่มีอะไรยุ่งยากมากมายเป็นเพียงผ้าม่านสีขาวธรรมดา สลับสับเปลี่ยนฉากให้เป็นบรรยากาศห้องนอน โรงแรม หรือสถานบันเทิงด้วยการเลื่อนเปิด-ปิด ผ้าม่าน โดยสับเปลี่ยนโคมไฟ (โดยการเลื่อนเปลี่ยนโคมไฟบนรางไป-มา) และสับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ประกอบฉากนั้น ๆ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเด็กยกฉาก หรือยกเฟอร์นิเจอร์แม้แต่คนเดียว เพราะว่านักแสดงทุกคนเป็นทั้งเด็กจัดฉาก ยกเตียง ย้ายโตํะ เก้าอี้ประกอบฉากเอง และใช้นักคนตรีเล่นเพลงประกอบการแสดงเพียงสามคนเท่านั้น



ภาพ Postcard  ผู้แสดงเป็น Mata Hari จากละครเวที


แม้จะเป็นคณะละครเวทีเล็ก ๆ ก็ตาม แต่นักแสดงทุกคนต่างมีฝีมือบวกทั้งแก้วเสียงถึงระดับ แม้ไม่เท่าโอเปร่าก็ตาม การร้องสดที่ไม่มีไมค์หรือเครื่องขยายช่วย  เรียกได้ว่าคุณภาพคับแก้ว ทีเดียว


Mata Hari เป็นชื่อในการแสดงของศิลปินสาวนักเต้นระบำเปลื้องผ้าชาวเนเธอร์แลนด์ หรือชาวดัส เธอมีชื่อจริงว่า มากาเร็ตธา เกอธรูท เซลล่า (Magaretha Greetruida Zelle) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1876 ที่เมือง เลวาเดน (Leeuwaden) ในครอบครัวชนชั้นกลาง เป็นลูกสาวคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน


Magaretha เปลี่ยนชื่อเป็น Matha Hari เมื่อครั้งเธออยู่กินกับสามี รูดอล์ฟ จอน แมคลีออด (Rudolf John MacLeod) ที่ลาออกจากการเป็นทหาร และย้ายไปทำงานที่อินโดนีเซีย ที่ที่เธอได้เรียนรู้การเต้นระบำพื้นบ้านของชาวชวา และได้นำมาประกอบอาชีพจนมีชื่อเสียงโด่งดังในปารีสและอีกหลายประเทศไนยุโรป Magaretha สูญเสียลูกชายตั้งแต่ยังเล็ก ได้หย่าขาดกับสามี โดยทิ้งลูกสาวคนเดียวไว้กับญาติ เพื่อเข้าปารีสตามหาความฝันของเธอ


Magaretha สร้างชื่อเสียงจากการเต้นระบำ ในหมู่สังคมชั้นสูง นายทหารระดับนายพล และคนมีชื่อเสียงร่ำรวยต่างรู้จักเธอในนาม Mata Hari นักเต้นระบำ แปลก ๆ ที่ไม่เหมือนใคร ชื่อเสียงของเธอโด่งดังก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ว่ากันว่าเธอเป็นสายลับหญิงให้กับเยอรมันภายใต้รหัส H21 เธอถูกจับตามองจากสายลับ M15 ชาวอังกฤษ Mata Hari ถูกจับและถูกกล่าวหาว่าเป็นนกสองหัว เมื่อ 25 กรกฎาคม 1917 และถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาลทหารฝรั่งเศส เมื่อ 15 ตุลาคม 1917


Mata Hari เป็นสายลับจริงหรือไม่ ไม่มีใครรู้ อีกทั้งไม่มีหลักฐานหรือรายละเอียดแน่ชัด ต่างว่ากันว่าเธอเป็นแพะรับบาปมากกว่า
รูปปั้น Mata Hari ที่เมือง Korfmarkerspijp ใกล้กับบ้านเกิดของเธอ
source: http://de.wikipedia.org/wiki/Mata_Hari


ไม่ว่าเธอจะเป็นจารสตรีหรือไม่ก็ตาม เรื่องราวชีวิตของ Matha Hari ถูกนำมาเขียนเป็นหนังสือขายกว่า 250 เล่ม และสร้างเป็นหนังกว่า 12 ครั้ง รูปปั้นของเธอถูกสร้างไว้ที่เมือง Korfmakerspijp ไม่ไกลจากบ้านเกิดของเธอ เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักเธอจนถึงทุกวันนี้

No comments:

Post a Comment