Dhamma for Life

"เราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนะ เราต้องศึกษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ศึกษาอย่างเดียวไม่พอนะ ต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ ด้วยจนเห็นผล พอเห็นผลแล้ว เราก็มีหน้าที่บอกต่อ เนี่ยหน้าที่ของชาวพุทธนะ ตัวเองต้องศึกษา ต้องฟังก่อน ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร เรียกว่าเรียนปริยัตินั้นเอง แล้วก็ลงมือปฏิบัติว่าได้ผลแล้วก็ต้องบอกต่อ ศาสนาถึงจะดำรงอยู่ได้ แต่ละคนมีภารกิจ อย่านึกว่าแค่ว่าเราจะมาฟังธรรมะเล่นๆ แต่ละคนมีความสำคัญทั้งนั้น"


"หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลาจะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน"

...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช...สวนสันติธรรม...

Oct 30, 2010

Inaugurating Phrabuddha Vachira Trilokanarth Saasada


สองวันก่อนที่วัด Dhamapala, Kandersteg วัดสาขาหลวงปู่ชา หลวงพ่อสุเมโธ เป็นประธานสงฆ์ประกอบพิธีประดิษฐาน พระพุทธวชิรไตรโลกนารถศาสดาอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อแล้วย  บอกบุญมายังเพื่อน ๆ และทุกคนที่ผ่านมาได้ร่วมอนุโมทนาบุญโดยเฉพาะกับท่านที่อุตสาห์ดำเนินการตั้งแต่การออกแบบองค์พระ ป้าย และหน้าบัณฑ์ประตู รวมถึงเป็นกำลังดำเนินการในการขนส่งที่ต้องใช้เวลาเดินทางทั้งขึ้นรถ ลงเรือจากเมืองไทย เพื่อนำมาประกอบที่วัด  (อาึจารย์เขมะสิริเล่าให้ญาติโยมฟังก่อนพิธีจะเริ่ม) อย่างที่เห็น ขอบุญถึงเพื่อนๆ และทุกท่าน ...ถ้วนหน้า
ภาพซ้าย: อาจารย์ญาณรโตจุดเทียนเริ่มพิธีภาพขวา: หลวงพ่อสุเมโํธ ประพรมน้ำมนต์องค์พระ

Oct 29, 2010

Flood & Generousness-ช่องทางลำเลียงน้ำใจ ไทยช่วยไทย




แผนที่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติ 2553

วิกฤต เดือดร้อนรุนแรงเดือดร้อนได้รับผลกระทบกำลังฟื้นฟู
ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553
ติดตามข่าวสาร และช่องทางการช่วยเหลือได้ที่เวบไซต์ http://thaiflood.com


ช่วงนี้บ้านเราหลายจังหวัดประสบความเดือนร้อน จากน้ำท่วมเรียกได้ว่าไม่เคยมีครั้งไหน ที่น้ำจะท่วมมากมายหลายจังหวัดเท่าครั้งนี้  ถึงคราวเดือดร้อน เราคนไทยด้วยกันไม่นิ่งดูดาย หลายช่องทางที่เราสามารถช่วยเหลือพี่น้องคนไทยเหล่านั้นได้ ตามช่องทางข้างล่าง สะดวกทางไหน คนละไม้คนละมือ คงพอบรรเทาความเดือนร้อนได้...ไม่มากก็น้อย  

สภากาชาดไทย
รับบริจาคสิ่งของที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ส่วนเงินบริจาคได้โดยโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี 'สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย' เลขที่045-3-04190-6 จากนั้นแฟกซ์ใบนำฝาก เขียนชื่อที่อยู่มาที่สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลข 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-256-4066-8 


สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เปิดรับบริจาคสิ่งของ น้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง กระดาษชำระ ถุงขยะ (ยกเว้นอาหารสด หรืออาหารที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น) ที่บ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-629-4433
       
พันธมิตรโคราช ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพันธมิตรนครราชสีมา (พันธมิตรโคราช) บริเวณหน้าร้านข้าวต้มนายตี๋ ชั้นล่าง โรงแรมเมืองทอง ถนนชุมพล ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา โดยจะทำหน้าที่รับบริจาคและจัดทำข้าวกล่องแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา ผู้สนใจสามารถบริจาคสิ่งของได้ที่ศูนย์ประสานงานดังกล่าว สอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 086-1404442

ททบ.5
รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย บัญชี ธ.ทหารไทย สาขาสนามเป้าออมทรัพย์ เลขที่ 021-2-69426-9 ชื่อบัญชี 'กองทัพบกโดย ททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม' หรือที่สถานีศูนย์บริหารงานอุบัติภัย

สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ได้แก่ อาหาร น้ำ เทียน ไม้ขัด ไฟแช็ค ผ้าอนามัย ยากันยุง และยาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ที่ชั้น G อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ 2 สามารถร่วมบริจาคได้ทุกวัน ส่วนเงินสด บริจาคได้ที่ 'บัญชีครอบครัวข่าวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 53' และ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 014-300-3689 ธนาคารกรุงเทพ สาขามาลีนนท์

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(สปภ.) เปิดศูนย์รับบริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ศาลาว่าการ กทม. 1 (เสาชิงช้า) ,ศาลาว่าการ กทม. 2 (ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง

บขส.-ขสมก.
เปิดศูนย์รับบริจาคเครื่องอุปโภค-บริโภค บริเวณประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 อาคาร
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร) และสถานีเดินรถ บขส.ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กองประชาสัมพันธ์ โทร0-2936-2996 หรือ Call Center 1490 เรียก บขส.

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ร่วมกับ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (โทลล์เวย์) และกองทัพบก ตั้งจุดรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ณ บริเวณประตูทางเข้าศูนย์การค้าฯ ชั้น บี (ร้านซูกิชิ) ฝั่งโรบินสัน

ค่ายมือถือ 3 ค่าย คือ เอไอเอส ดีแทคและทรูมูฟ เชิญร่วมส่ง sms โดยพิมพ์ ข้อความ 'น้ำใจไทย' หรือ 'namjaithai' ส่งไปที่หมายเลข 4567899 ค่าบริการครั้งละ 10 บาท โดยรายได้จากค่าบริการ sms นำช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั้งหมด

Oct 23, 2010

faithful.believe.credulous-ศรัทธา ความเชื่อ และงมงาย


พุดถึงความเชื่อ ศรัทธา งมงาย ทำให้นึกถึงครั้งหนึ่งที่เคยไปนั่งเรียนภาษาต่างด้าวร่วมกับชาวต่างชาติหลากภาษา คุณครูยกหัวข้อขึ้นมาสนทนาเกี่ยวกับตามเชื่อ และศาสนา ครูหันมาถามเราว่า ศาสนาของยู (หมายถึงพุทธ) เชื่อว่ามีชาติหน้าใช่ไหม เราตอบว่าใช่ แทนที่เธอจะถามถึงเหตุผล ทำไมเราเชื่อ อย่างเช่นที่เธอถามคนอื่นๆ เธอกลับสบัดหน้าพร้อมพูดเสียงสบัดกับนักเรียนต่างด้าวคนอื่น ๆ ว่า เฮอะ เธอคนนี้เชื่อว่ามีชาติหน้า ซึ่งแตกต่างจากศาสนา...

หากมองภาพรวมจะเข้าใจไม่ยากว่าทำไม ชาวต่างชาติจึงเข้าใจว่าชาวพุทธงมงาย และศรัทธาผิด ๆ เพราะภาพที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ (ที่ไม่ได้ศีกษาและเข้าใจศาสนาพุทธอย่างถูกต้อง) เห็นชาวพุทธ และวัดไทยในต่างแดน ในลักษณะนั้น และบ้างก็เข้าใจผิดว่าพุทธและฮินดูเหมือนกัน เพราะด้วยว่าเห็นพุทธกราบไหว้ นับถือเทพเจ้า ฯลฯ ประมาณนั้น)

ความจริง ศรัทธา ต่างจาก งมงาย และมีนัยต่างกันมาก ศาสนาพุทธสอนให้เราศรัทธาด้วยปัญญา  คุณดังตฤณ  ได้วิสัชนาเรื่อง ความแตกต่างระหว่างศรัทธากับงมงาย และเราจะแยกได้อย่างไร ไว้อย่างน่าสนใจว่า
"ศรัทธาที่ปราศจากการพิจารณาประกอบ โน้มเอียงที่จะเป็นความงมงายครับ 
ส่วนศรัทธาที่มีการพิจารณาแล้ว 
(หรือให้ดีกว่านั้นคือเห็นตามจริงจากประสบการณ์แล้ว) 
ว่าสิ่งที่ศรัทธามีคุณอย่างไร มีโทษอย่างไร

เมื่อใดพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่ศรัทธา เช่นพระพุทธเจ้าและคำสอนของท่าน มีแต่คุณ
คือเอื้อให้ดำรงตนอย่างเป็นสุข มีชีวิตโดยไม่ต้องหวาดกลัว
กับทั้งไม่มีโทษ คือไม่ต้องเอาความเชื่อทางศาสนาไปเป็นข้ออ้างเบียดเบียนใคร
มีชีวิตโดยไม่ต้องเป็นที่หวาดผวาของใครๆ
พอตรึกตรองรอบคอบแล้วจึงยึดพระพุทธเจ้ากับคำสอนของท่านเป็นสรณะ
อย่างนั้นเรียกว่าศรัทธาอันประกอบด้วยปัญญา

ความเชื่อในช่วงเริ่มต้นเพียงน้อยนิดนั้น
คือศรัทธาที่เปรียบเหมือนเปลวไฟดวงน้อยบนหัวไม้ขีด
แต่ก็อาจกลายเป็นชนวนความสว่างที่ยั่งยืน
ขอเพียงนำเปลวไฟน้อยไปประดิษฐานให้ถูกที่
เช่นไส้เทียนใหญ่คือปัญญาอันตั้งลำ มั่นคง สติปัญญา ความมีเหตุผล
และประสบการณ์ประจักษ์แจ่มแจ้งเท่านั้น
จะรักษาศรัทธาไว้ได้ตลอดรอดฝั่ง กระทั่งตัวตายไปพร้อมกับศรัทธา
เปรียบเหมือนคนตาบอดที่ผ่าตัดได้ดวงตาแล้ว
ลืมตาขึ้นเห็นสีสันและความจริงทั้งหลายแล้ว
ก็ย่อมไม่มีคนตาบอดและคนตาดีที่ไหนมาหลอกได้ว่า
โลกและสีสันความจริงเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่อย่างที่กำลังเห็น

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของศรัทธาในศาสนาแล้ว
เมื่อยังไปไม่ถึงจุดที่ ‘ได้ดวงตาเห็นความจริง’
ก็อาจมีหลายสิ่งที่คลุมเครือก้ำกึ่งกันอยู่
บางครั้งแม้ศรัทธาอย่างมีปัญญาประกอบแล้ว ก็เหมือนจำต้องงมงายเชื่อไว้ก่อน
ยกตัวอย่างเช่นศาสนาพุทธบอกว่ากรรมวิบากมีจริง ทุกสิ่งมีเหตุผลที่มาที่ไปเสมอ
เราส่งใจพิจารณาตามแล้วก็คล้อยตามได้
โดยไม่รู้สึกว่าตัวเองเหมือนคนโง่ที่ใครพูดมาก็เชื่อหมด
แต่กรรมวิบากก็เป็นเรื่องอจินไตย
ถ้าขาดสมาธิผ่องแผ้ว ขาดตาทิพย์ทะลุมิติกรรมวิบาก
เราก็ไม่อาจพิสูจน์จะแจ้งด้วยจิตตนเองอยู่ดี

ตรงนี้แหละ ตรงที่ตระหนักว่ายังต้องฟังผู้อื่นพูด ก็ต้องอาศัยศิลปะ
อาศัยหลักการแยกแยะว่าเรารับฟังอย่างงมงาย
หรือรับฟังด้วยศรัทธาที่ประกอบปัญญา

เอาง่ายๆอย่างนี้เลยครับ หากศรัทธาแล้วเราถูกปล้นปัญญา
ปล้นเหตุผล ปล้นความเป็นตัวเราไปหมด
เขาใช้วิธีบีบคอ บอกอะไรเราต้องเชื่อหมด ขู่อะไรเราต้องหงอหมด
อย่างนั้นเขาวางตัวเป็นผู้ทำเราให้เชื่ออย่างงมงายแล้ว

แต่หากศรัทธาแล้วเรายิ่งมีปัญญาคิดอ่านอะไรทะลุปรุโปร่ง
อ่านปัญหาขาด แก้ข้อติดขัดได้หมด
กับทั้งยังคงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพา
เป็นผู้ได้เหตุผลที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขขึ้นเรื่อยๆทั้งทางใจและทางกาย
อย่างนี้เขาส่งเสริมให้เรามีศรัทธาในแบบที่เป็นขาตั้งให้ปัญญาแข็งแรง ยั่งยืน
ยิ่งฐานศรัทธากว้างขวางมั่นคงเพียงใด ปัญญาก็ยิ่งต่อยอดขึ้นสูงได้มากขึ้นเพียงนั้น

ทั้งหมดที่กล่าวก็กล่าวตามเนื้อผ้านะครับ
ไม่ใช่ข้อตัดสินแบบจำเพาะเจาะจงลงไปที่ศาสนาไหนหรือคนกลุ่มใด
พระพุทธองค์เคยให้หลักการไว้ ว่าจะเชื่อนั้นอย่าเชื่อเพราะเหตุผลอื่นใด
ขอให้คำนึงเพียงประการเดียวว่าเชื่อแล้วเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ
มีผลเป็นสุขหรือเป็นทุกข์กับตนเองและผู้อื่น
นี่แหละครับจึงจะกล่าวได้เต็มปากว่าเรามีศรัทธาแบบพุทธ"

 ที่มา http://www.dharmamag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=331&Itemid=63

Oct 17, 2010

Chili Mixed-อยากกินน้ำพริก คิดดังไปไหม

สองอาทิตย์ก่อน ร่ำ ๆ จะตำน้ำพริกตาแดงกินเอง (ด้วยสูตร แม่บังคับให้ทำ อาหารแนวนี้ฉันถนัดทำเองเสียที่ไหน แต่เรื่องกินไม่ต้องพูดถึง ถนัดไม่ต้องสอน อยู่บ้านมีแม่และน้องทำให้กิน มาอยู่ไกลบ้านนี้ ต้องทนกินฝีมือตัวเอง เศร้าแท้)

น้ำพริกตาแดง กินกับข้าวสวยหุงร้อน ๆ ไข่ต้มสักใบ เคียงด้วยผักใบนานาลวกสุก คงหายคิดถึงเมืองไทยไปโข  แต่คงเทียบไม่ได้กับน้ำพริกถ้วยเก่าของแม่และยาย ที่ฝีมือใคร...จะสู้
พูดถึงเรื่องน้ำพริก ทำให้นึกถึงสมัยยังโสด ทำงานในห้องแอร์ ด้วยคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวคือปากจัด นายเลยให้ไปช่วยเป็นกันชนให้กับโปรเจคในแดนไกลเสียหลายเดือน สมัยก่อน มันฝรั่ง กับอาหารยุโรปที่ส่วนใหญ่รสชาติ หลักคือเค็มกับเลี่ยนด้วยชีสที่พี่ผอมไม่ชอบมาเยือน เป็นปฏิปักษ์กับกระเพาะฉันเสมอ ชีวิตฉันคงไม่รอดหากขาดน้ำพริกที่แม่ทำให้ถึงสามกิโล อย่าเพิ่งตกใจ ว่าฉันกินหรือสวาปาม นะนั่น  คือว่าฉันมันคนประเภทติดเผ็ดแทนโคเคน  วันไหนกินข้าวไร้พริก เป็นต้องคิดงานไม่ออก บอกนายไม่ถูก พาลหงุดหงิดง่าย แทบน้ำลายฟูมปากอยากจะกัดใครคน (อย่าคิดมาก ว่าฉันเป็นหมาบ้า อากาศติดลบออกปานนั้นJ) ยิ่งสถานการณ์บังคับต้องกินข้าวนอกบ้าน และเข้าสังคมกับเหล่าเพื่อนร่วมงานหัวไม่ดำตาหลากสีทั้งหลาย  ขืนฉันควักน้ำพริกมาวางกลางโต็ะกินข้าว  คุณเหล่านั้นคงยกจานข้าวหนีไปนั่งโต๊ะอื่นเป็นแน่ 

Oct 13, 2010

Speculative opinion or wrong view ทิฐิ หรือทรรศนะ คือความเห็นต่าง ๆ

พูดถึงเรื่องทิฐิ หรือทรรศนะ คามเห็นต่าง ๆ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพุทธศาสนาในบ้านเราขณะนี้  ที่มีความขัดแย้ง และทรรศนะแตกต่างกัน  อันที่จริงพระพุทธเจ้าท่านได้ประทานหลักในการตกลงใจว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และอะไรไม่ใช่ ทั้งทางตรงคือพระธรรมวินัย ทั้งอุปมาคำสอน หรือเรื่องราวที่แทรกอยู่ในพระสูตรต่าง ๆ ดังตัวอย่างหนึ่งใน พรหมชาลสูตร ว่าด้วยเรื่อง ทิฐิ และความเห็น นำมาเรียบเรียงด้วยภาษาร่วมสมัย ให้อ่าน และเข้าใจง่าย โดยปราชญ์ผู้รู้ ท่านอาจารย์วศิน อิทสระ...พระไตปิฎก ฉบับที่ทำให้ง่ายแล้


ครั้งหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จพร้อมภิกษุจำนวนมากจากราชคฤห์ไปนาลันทา  นักบวชลัทธิหนึ่งชื่อ สุปปิยะ และลูกศิษย์ชื่อ พรหมทัต กำลังเดิินทางเช่นกัน  ระหว่างนั้น สุปปิยะ ผู้เป็นอาจารย์ ก็ได้กล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า ส่วนพรหมทัต ลูกศิษย์กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า ทั้งสองต่างขัดแย้งกันมาตลอดทาง  
พระพุทธเจ้าได้ประทับแรม ณ ตำหนักในหลวงที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา (สวนมะม่วงหนุ่ม)  ส่วนนักบวชทั้งสองก็พักที่นั่นเช่นเดียวกัน  ต่างก็ยังโต้เถียงกันเหมือนเดิม จนกระทั่งรุ่งสาง